เป้าหมายความเข้าใจ- นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วนด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
...........................
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
6
21-25 พ.ย.59 |
โจทย์
อัตราส่วน
คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบจากวิธีการหาอัตราส่วน
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับอัตราส่วน
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับอัตราส่วน
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
|
กระบวนการ : อัตราส่วน
- สมมติสถานการณ์ (การเล่นบาสเกตบอล 3 เกม) ดังนี้
"พวกเราเล่นบาส ตารางด้านล่างนี้แสดงบันทึกการโยนลูกบาสเกตบอลเข้าห่วงของพี่อาม ในการเล่นบาสเกตบอล 3 เกม"
คำถาม "เกมใดที่พี่อามเล่นได้ดี"
*เปรียบเทียบผลการโยนบาสเกตบอลและสนทนากับเพื่อนๆ
เกี่ยวกับแนวคิดของตนเอง
ตารางแสดงบันทึกจำนวนการโยนบาส
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนบันทึกการโยนบาสในวันที่ 10ก.พ และ 15ก.พในรูปของเศษส่วน โดยตัวส่วนเป็นจำนวนครั้งในการโยนและตัวเศษเป็นจำนวนครั้งที่โยนเข้าห่วง จากนั้นเปรียบเทียบเศษส่วนนั้น"
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดคิด นำเสนอวิธีคิด
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด "ให้นักเรียนแสดงบันทึกการโยนบาส
ในวันที่ 13ก.พ ให้อยู่ในรูปจำนวน"
-นักเรียนร่วมแสดงความคิดคิด นำเสนอวิธีคิด
ครูช่วยขมวดความเข้าใจ ยกตัวอย่าง "ถ้าเราสร้างจำนวนครั้งที่โยน
ทั้งหมดแล้วจำนวนครั้งที่โยนเข้าห่วงจะเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนทั้งหมด"
- ตารางต่อไปนี้แสดงบันทึกการโยนลูกบาสของพี่มิสซ์ ให้นักเรียนแสดง
การบันทึกในรูปของจำนวน
(บันทึกการโยนเป็นจำนวนระหว่าง 0 และ 1)
- นักเรียนจำนวนหนึ่งได้ตรวจสอบจำนวนผู้โดยสารบนเครื่องบินในหนึ่งวัน เครื่องบินในหนึ่งวัน เครื่องบินลำใดมีผู้โดยสารแออัดมากกว่ากัน
*ระดับความแออัดแสดงในรูปของจำนวน ที่เป็นการเปรียบเทียบจำนวนผู้โดยสาร
กับจำนวนที่นั่ง เป็นการทำจำนวนที่นั่งให้เป็น 1
** พาเด็ก ไปให้ถึง ความเข้าใจที่อยากให้นักเรียนไปให้ถึง
ระดับความแออัดของเครื่องบินลำเล็ก คือ 117/130 =0.9
ระดับความแออัด 0.9 หมายความว่า จำนวนของผู้โดยสารคือ 0.9 คน
เมื่อเทียบกับที่นั่งทั้งหมดเป็น 1
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(1) "ให้นักเรียนแสดงความหนาแน่น
ของเครื่องบินใหญ่ โดยระบายสีลงบนกราฟด้านล่าง"
-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด พร้อมนำเสนอ
*ครูให้โจทย์ใหม่ ท้าทายยิ่งขึ้น
--อัตราส่วนของปริมาณ 2 ปริมาณ--
"เราสามารถอธิบายอัตราส่วนของปริมาณ 2 ปริมาณได้แม้ว่าปริมาณใด
ปริมาณหนึ่งไม่สามาร"
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(2) "ในห้องเรียนของพี่แตงโม มีเด็กผู้ชาย 16 คน และเด็กผู้หญิง 20 คน จงหาอัตราส่วนของจำนวนเด็กผู้ชายต่อเด็กผู้หญิง"
-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด พร้อมนำเสนอ
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด(3) "จากห้องเรียนของพี่แตงโม ในคำถาม(3) จงหาอัตราส่วน จำนวนเด็กผู้หญิงต่อจำนวนเด็กผู้ชาย"
-นักเรียนร่วมแสดงวิธีคิด พร้อมนำเสนอ
"อัตราส่วนจะเปลี่ยนแปลงถ้าเราเปลี่ยนปริมาณพื้นฐาน
ในบางกรณีอัตราส่วนมากกว่า 1"
-ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด แล้วช่วยจัดระบบข้อมูลขณะนักเรียนออกมาแสดงวิธีคิด
- ครูให้นักเรียนทำใบงานเกี่ยวกับอัตราส่วน
|
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
- นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน
ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
|
ความรู้
นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วนด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตร
ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตร
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
................................................................
ฝึกทักษะการคิด- "กระบวนการจัดการชุดความรู้ทางคณิตศาสตร์"
..ผมพาพี่ๆ ป.6 ทบทวนแนวข้อสอบโอเน็ตปีที่ผ่านๆ มา
เจอโจทย์ข้อนี้น่าสนใจมาก เลยพาพี่ๆ วิเคราะห์ พร้อมนำเสนอ/ให้เหตุผลในการได้มาซึ่งคำตอบ..
*หลากหลายวิธีคิดที่เกิดจากพี่ๆ ...
ชื่นชม..ทุกๆคนทุกเรื่องราวได้เรียนรู้ร่วมกันครับ..
...
เข้าสู่การทบทวนเรื่องอัตราส่วนกับพี่ๆ ป.6 พี่ๆหลายคนมีความเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็วมาก ในการวิเคราะห์โทย์และการให้เหตุผล
...แนวข้อสอบแต่ละเรื่องครูยังเตรียมมาให้พี่ๆ ได้ฝึกทำอย่างต่อเนื่อง และเป็นflip classroom ในวันหยุดยาวนี้อีกด้วย ในการจัดการชุดความรู้ทางคณิตศาสตร์
ฝึกทักษะการคิด- "กระบวนการจัดการชุดความรู้ทางคณิตศาสตร์"..ผมพาพี่ๆ ป.6 ทบทวนแนวข้อสอบโอเน็ตปีที่ผ่านๆ มาเจอโจทย์ข้อนี้น่าสนใจมาก เลยพาพี่ๆ วิเคราะห์ พร้อมนำเสนอ/ให้เหตุผลในการได้มาซึ่งคำตอบ..
ตอบลบ*หลากหลายวิธีคิดที่เกิดจากพี่ๆ ...ชื่นชม..ทุกๆคนทุกเรื่องราวได้เรียนรู้ร่วมกันครับ..
..
เข้าสู่การทบทวนเรื่องอัตราส่วนกับพี่ๆ ป.6 พี่ๆหลายคนมีความเข้าใจและเรียนรู้ได้เร็วมาก ในการวิเคราะห์โทย์และการให้เหตุผล
...แนวข้อสอบแต่ละเรื่องครูยังเตรียมมาให้พี่ๆ ได้ฝึกทำอย่างต่อเนื่อง
และเป็นflip classroom ในวันหยุดยาวนี้อีกด้วย ในการจัดการชุดความรู้ทางคณิตศาสตร์