เป้าหมายความเข้าใจ- นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วนด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ปรับประยุกต์ใช้ได้
................................
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
9
19-23 ธ.ค.59 |
โจทย์
อัตราส่วน
-ร้อยละ
-โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน
คำถาม
นักเรียนจะใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนไปใช้แก้ปัญหากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับอัตราส่วน
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน
Brainstorm
- ร่วมกันคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับอัตราส่วน
Wall Thinking
- ติดชิ้นงานเกี่ยวกับอัตราส่วน
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นภาพชุดรูปร่างเรขาคณิต
- ไม้เมตร
- ไม้บรรทัด(ขนาดต่างๆ)
|
วันจันทร์
ชง - ครูพานักเรียนเล่นเกมกระตุ้นการคิดแบ่งสาย
“ให้นักเรียนหาคำตอบจากคำให้การ นักเรียนมีวิธีคิด/เหตุผลอย่างไร?”
ชง
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม มีเม็ดยางให้ 12 เม็ด หยิบได้ 1,2,3 เม็ดก็ได้ต่อครั้ง คนหยิบสุดท้ายเป็นคนแพ้ และจะทำอย่างไรให้คนแรกที่หยิบเป็นคนชนะ
เชื่อม
- แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4 คน 2 คนแรกเล่น 2 คนหลังสังเกต แล้วสลับกัน ให้เวลา 20 นาที
- นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน เช่น “มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้าง” นักเรียนเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่ได้อย่างไร เพราะเหตุใด
วันอังคาร
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วย “ โต๊ะอาหารแต่ละตัว จัดที่นั่งได้ 8 ที่นั่ง เมื่อนำโต๊ะ 2 ตัวมาต่อกันจะจัดที่นั่งได้ดังรูป ถ้านำโต๊ะมาต่อกัน 8 ตัว จะจัดที่นั่งได้กี่ที่นั่ง
- นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน เช่น “มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้าง” ครูถามนักเรียนต่อว่า ลุงเพิ่มต้องการทำทางเดินรอบที่ดินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยวัดจากขอบที่ดินเข้าไปด้านละ 1 เมตร ถ้าที่ดิน มีความยาวด้านละ 17 เมตร ทางเดินมีพื้นที่กี่ตารางเมตร นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน เช่น มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้
- ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆแสดงวิธีคิด
วันพุธ
ชง
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม กระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1.75 เมตร ยาว 2.50 เมตร นำมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซึ่งมีพื้นที่ 1,750 ตารางเซนติเมตร จะได้รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกี่รูป
- นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน เช่น “มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้าง” ครูถามนักเรียนต่อว่าสระน้ำทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กว้าง 18 เมตร ยาว 23 เมตร ลึก 5.5 เมตร มีน้ำอยู่ 2/3 ของสระน้ำ น้ำในสระ มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เมตร
เชื่อม
- ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
วันศุกร์
ชง
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยอาหารไทยที่นักท่องเที่ยวชอบรับประทาน
“ถ้ามีนักท่องเที่ยว 120 คน มีนักท่องเที่ยวที่ชอบรับประทานผัดไทยกี่คน
เชื่อม
- นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน เช่น “มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ อะไรบ้าง” ครูถามนักเรียนต่อว่า แม่ค้าซื้อแตงโม 150 ผล ราคา 3,600 บาท แล้วนำไปขายผลละ 30 บาท เมื่อขายหมดแม่ค้าได้กำไร กี่เปอร์เซ็นต์ นักเรียนเสนอความคิดเห็นของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้อง ครูใช้คำถามกระตุ้นนักเรียน เช่น มีใครคำตอบนอกเหนือจากเพื่อนหรือไม่ จากนั้นครูให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ใช้
- ครูเขียนโจทย์ปัญหาสถานการณ์ ไว้บนกระดานให้นักเรียนทำลงในสมุด พร้อมแสดงวิธีคิด
เชื่อม
- นำเสนอวิธีคิดบนกระดาน
ใช้
- สร้างโจทย์ปัญหาสถานการณ์ และให้เพื่อนๆ แสดงวิธีคิด
|
ภาระงาน
- นักเรียนทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่ผ่านมา
- นักเรียนช่วยกันหาวิธีคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรค์โจทย์ใหม่
- นักเรียนแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนทำใบงาน
ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- ชิ้นงานสร้างสรรค์จากกิจกรรมเกมการคิด
- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน) ในชิ้นงานรูปแบบที่หลากหลาย
|
ความรู้
นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วนด้วยวิธีคิดที่หลากหลาย และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ปรับประยุกต์ใช้ได้
ทักษะ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับอัตราส่วน
ในรูปแบบโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับอัตราส่วน
ทักษะการคิด
- นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากแบบรูปที่กำหนดให้ และถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
- นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบวิธีคิดและการนำเสนองานในมิติที่หลากหลาย
ทักษะการมองเห็นแบบรูป(pattern)
นักเรียนสามารถนำเสนอความเข้าใจผ่านแบบรูปและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่เกิดจากทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำและเข้าใจได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ความอดทน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
..................................
วิเคราะห์ "โจทย์ปัญหาสถานการณ์อัตราส่วน" เริ่มเรียนรู้จากครูกำหนดสถานการณ์ปัญหามาให้พี่ท้าทายมาให้ พี่ๆร่วมกันวิเคราะห์และค้นหาคำตอบ นำมาร่วมเสนอแลกเปลี่ยนวิธีคิดร่วมกัน
_กระบวนการจัดการชุดความรู้ยังคงดำเนินต่อ และครูกับพี่ๆ ป.6 ได้อยู่ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันยาวนานขึ้น(เนื่องจากครูประจำชั้น ป.6 ไม่สบาย) จึงได้ร่วมจัดการชุดความรู้ตลอดเรื่อยมา สู่ความเข้าใจของพี่ๆ หลังจัดกระทำข้อมูลร่วมกันมาแล้ว
..หลายคนสามารถอธิบายถ่ายทอดความเข้าใจให้คุณครูฟัง ให้เพื่อนๆเข้าใจในเนื้อหาที่ตนได้
วิเคราะห์ "โจทย์ปัญหาสถานการณ์อัตราส่วน" เริ่มเรียนรู้จากครูกำหนดสถานการณ์ปัญหามาให้พี่ท้าทายมาให้ พี่ๆร่วมกันวิเคราะห์และค้นหาคำตอบ นำมาร่วมเสนอแลกเปลี่ยนวิธีคิดร่วมกัน
ตอบลบ_กระบวนการจัดการชุดความรู้ยังคงดำเนินต่อ และครูกับพี่ๆ ป.6 ได้อยู่ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกันยาวนานขึ้น(เนื่องจากครูประจำชั้น ป.6 ไม่สบาย) จึงได้ร่วมจัดการชุดความรู้ตลอดเรื่อยมา สู่ความเข้าใจของพี่ๆ หลังจัดกระทำข้อมูลร่วมกันมาแล้ว
..หลายคนสามารถอธิบายถ่ายทอดความเข้าใจให้คุณครูฟัง ให้เพื่อนๆเข้าใจในเนื้อหาที่ตนได้